วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

รอยยิ้มนักสู้ - LOSO ( ฉบับการ์ตูน )


นี้เป็นคลิปวีดิโอที่พวกเราทำขึ้นมาในแบับการ์ตูนนะครับเพื่อนช่วยๆกันดูสามารถติหรือเเนะนำได้นะครับว่าใช้ได้หรือไม่

เรื่องของไม้กลอง


หลายคนอาจจะคิดว่าไม่เห็นจำเป็นเลยว่าต้องใช้ไม้กลองแบบนี้ รุ่นนี้เท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วมีความสำคัญมากเช่น

น้ำหนักไม้ แปรตามแนวเพลงที่เล่น แบบว่าน้ำหนักไม้มากก็จะทำให้เสียงค่อนข้างชัด แต่สปีดก็จะน้อยลงเป็นเงาตามตัว ถ้าเล่นเพลงทั่วไปน่าจะใช้ประมาณ 5B แต่ 5B ของแต่จะยี่ห้อก็ไม่เท่ากันอีกนะ

ลักษณะไม้กลองแบบต่างๆ

ลักษณะหัวไม้ แบบที่เป็นไม้ และเป็นพลาสติก แล้วแต่ชอบนะ ส่วนผมชอบหัวไม้เพราะ Bell Sound ของ Ride นุ่มกว่า และหัวพลาสติกชอบหลุดกระเด็นหาย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Zildjian กับ Promark)

ขนาด ก็แล้วแต่ขนาดมือของท่านสิ

ศูนย์ถ่วง เรื่องนี้สำคัญมาก เช่น Promark เนี่ยศูนย์ถ่วงจะอยู่มาทางตรงกลาง ทำให้แรงที่ตีจริงกับแรงกดบนหนังกลองใกล้เคียงกัน ต่างจาก Vater หรือ Vic Firth ที่ศูนย์ถ่วงอยู่ค่อนมาทางปลาย จะมำให้ออกแรงเพียงนิดแต่ได้น้ำหนักขึ้น

เนื้อไม้ มีทั้ง Maple, Hickory, etc แต่อยากว่าแบบเป็นยี่ห้อ(เพราะลองมันมาหมดแล้ว) เนื้อไม้เจ๋งสุดความเห็นส่วนตัว ยกให้ Vic Firth เพราะว่าเนื้อไม้แข็ง และค่อย ๆ สึกจากด้านนอกเข้าไปต่างจาก Promark หรือ Zildjian ที่เนื้อไม้จะกรอบช้ำจากด้านใน เวลาหักเรามักจะไม่รู้ตัว ประมาณนั้น ส่วนเนื้อไม้ดีกลางๆ เช่น Tama powertool , Vater ก็ใช้ได้……

มาควงไม้กลองเสริมหล่อกันนะ

ควงไม้กลองง่ายๆ ใครๆ ก็ควงได้


1.

2.


3.


เพื่อนๆก็ลองไปฝึกดูกันนะครับ ฝึกได้ไม่ได้ก็เเสดงความคิดเห็นได้นะครับเพื่อผมจะไปหาเทคนิคเพิ่มเติมให้ดีขึ้นหรือง่ายลงนะครับ 


เลือกหนังกลองอย่างไรให้โดนใจคุณ


ต้องขอออกตัวก่อนเลยว่า ข้อมุลที่ได้มานั้นนำมาจาก อ.ทศ พนมขวัญ ลงไว้ในเรื่องของคำแนะนำสู่การตั้งเสียงกลอง นะคับ ก็ต้องขออนุญาติอ.ท่านมา ณ ที่นี้ด้วย เพื่อเป็นความรู้กับเพื่อนๆชาวEasydrums.com กันนะคับมาเริ่มกันเลยดีกว่าคับ จะได้ไม่เสียเวลา

ชนิดของหนังกลองสามารถแบ่งได้ดังนี้คับผม

1.Uncoated Head คือหนังชันเดียวแบบความหนามาตรฐาน หนังชนิดนี้จะมีวอลลุ่มของเสียง,Sustain และฮาโมนิค เร้นจ์ อยุ่ในเกณฑ์สูง หนังชนิดนี้อาจจะทำมาในรูปแบบหนังใส,หนังขาว(แต่ไม่สากมือ) ฯลฯ และส่วนมากจะผลิตมาจากแผ่นฟิลม์ที่เรียกว่า Mylar (เป็นวัสดุท่คิดค้นขึ้นโดย Du Pont USA หรือ Plastic Polyester Nylon)

2.Coated Head หนังแบบ Coated คือหนังที่ทำมาจากแผ่นฟิลม์ใสและขุ่น เช่นกัน แต่มีการพ่น Coated อาจเป็นสีขาวหรือดำ เพื่อให้เกิดพื้นผิวที่หยาบ ซึ่งจุดประสงค์ที่ชัดเจนในการเลือกใช้หนังแบบนี้ก้เพื่อใช้กับ Brushes (แส้) ซึ่งทำให้เกิด Scratch Sound พื้น(ผิวที่หยาบสากเมื่อมีการใช้Brushes จะมีเสียงลากยาวต่อเนื่องที่เกิดจากการเสียดสี ระหว่าง พื้นผิวของหนัง (Head Texture)กับ Brushes) บรรดามือกลอง, โปรดิวเซอร์และซาวด์เอ็นจิเนียร์เลือกใช้หนังกลองชนิดนี้เพื่อเ สียงที่กระชับเฉียบคม เมื่อตีด้วยไม้กลอง และเมื่อใช้ไมโครโฟนจ่อใกล้กับหนังกลองเสียงที่ได้จะกลมกล่อมละ เอียดอย่างสมบูรณ์แบบ

3."Dot" Reinforced Heads สำหรับเพื่อนๆที่ชอบเล่นเกมส์คงรุ้จักหนังชนิดนี้กันดีอยุ่แล้ว หนังชิ้นนี้จะแบ่งHero ออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งละ5คน ใครตีเสาได้ก่อนก็ชนะ กติกาห้ามตุ๊ยป้อม (เฮ้ย..หนังDot ไม่ใช่DotA เง้อ) เอาจริงๆนะ Dot ก็คือหนังบาง1ชั้นที่มีแผ่นวงกลมแปะอยู่ตรงกลางของหนังซึ ่งอาจจะทำมาจากวัสดุ Mylar (มายล่าร์) หรือพลาสติก ตรงส่วนกึ่งกลางของหนัง เพื่อเพิ่มความทนทานของหนังมากขึ้น และเป็นจุดสัมผัสกับไม้กลอง (จุดตี หรือ Target Area) และเพื่อจุดประสงค์ทำให้แรงสั่นสะเทือนของหนังช้าลงด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มมวลเสียงของหนังให้มากขึ้นอีกด้วย และ Dot ยังช่วยเน้นเสียงกลาง และเสียงสูงให้เด่นชัดขึ้นมากอีกด้วย ขนาดของ Dot และความบางของDot จะมีข้อปลีกย่อยแตกต่างกันไป แล้วแวสดุและบริษัทผู้ผลิต

4.Damping Ring Head การออกแบบหนังชนิดนี้จะตรงกันข้ามกับหนัง Dot ซึ่งชิ้นของDamping จะเป็นรูปวงแหวนรองรับอยุ่ด้านล่างรอบๆ ขอบของหนังกลอง ซึ่งมีประโยชน์คือช่วยลดเสียง overtone และช่วยเน้น Pitch ให้เด่นชัดขึ้น และช่วยเพิ่มความชัดเจนของเสียงอีกด้วย

5.Fabric/Mylar Laminated Head หนังชนิดนี้จะมีลักษณะคล้ายๆกับหนังกลองท่ทำมาจากหนังสัตว์ ซึ่งจะเป็นลักษณะแบบใยเส้นละเอียดๆ ของวัสดุอัดกันเป็นชั้นๆ เสียงที่ได้จะออกโทนอุ่น และเสียงมัวนิดๆ ออกไปในย่านเสียงทุ่มและเสียงกลาง

6.Vented heads หนังชนิดนี้เช่นกัน บริษัท Evan ได้คิดค้นขึ้นมาและออกแบบผลิต เช่นหนังรุ่น Dry Snare และหนังเบสดรัม EQ1-EQ3,EQ Resonant และโดยเฉพาะนังเบสดรัม ขนาดเล้กที่อยู่รอบๆขอบนอกจากขอบกลองจะช่วยลบล้าง Vibration(แรงสั่นสะเทือน) และHarmonic ให้เกิดน้อยที่สุดในตัวกลอง ซึ่งจะเกิดผลตอบรับทางธรรมชาติของเสียง หรือคาแรคเตอร์ของเสียงกลองได้ดีขึ้น

7.Doble-Ply head หนังชนิดนี้มีแผ่นฟิลม์พลาสติกซ้อนกันอยู่ 2 ชั้น ในรูปแบบคล้ายหนังชั้นเดียว แต่ถ้าคุณต้องการความทนทาน และต้องการขจัดเสียงโอเวอร์โทนแล้วละก็ คุณจะได้เสียงที่เป็นกลุ่มก้อนที่มีมวลที่ยอดเยี่ยม เพราะฉะนั้นหนังกลองชนิดนี้ Pitch ของกลองจะต่ำกว่าหนังแบบชั้นเดียว ในความตึงท่เท่ากัน การตอบสนองของหนังต่อไม้จะช้ากว่าหนังชั้นเดียวด้วยเช่นกัน

8.Hydraulic Heads ในบ้านเราอาจจะรุ้จักกันดีในชื่อของหนังน้ำมัน คือ หนังชนิดนี้จะมีแผ่นฟิล์มบางๆอยุ่ 2 ชั้น คล้ายๆกับหนังDoble-Ply head แต่จะมีน้ำมันอยุ่ระหว่างทั้ง 2 แผ่น ซึ่งจะลดแรงสั่นสะเทีอนลงได้มากกว่าDoble-Ply head และเสียงจะอกมาแห้ง ไม่ผักและไม่งอก(ไม่ใช่ ก๊วยเตี๊ยว) โดยเสียงทั้งหมดจะมความชัดเจนขึ้น แบะการตอบสนองกับไม้จะช้ากว่าDoble-Ply head อยุ่พอสมควร

9.Maximun-Durability Head เพราะจุดเด่นของหนังชนิดนี้มีความทนทานมากที่สุดในบรรดาหนังกลอ งที่กล่าวถึงทั้งหมด ถ้าเปรียบเทียบระหว่างหนังที่ใช้เทคนิค Fabric/Mylar Laminated Head แล้วดูจะมีความโดดเด่นอยุ่ที่ความคงทนทานกว่า ยากมากที่หนังจะแตกได้เพราะใช้โครงสร้างวัตถุของไฟเบอร์ หรือ Kevlar คุณสมบัติ 1.น้ำหนักเบา 2.ถ้าเทียบกันตามน้ำหนักกับเหล็ก Kevlar จะมีความแข็งแรงกว่าเหล็กหลายเท่า ซึ่งเสื้อเกราะกันกระสุนปืนก็นิยมใช้ Kevlar เป็นวัสดุที่ซับอยุ่ภายใน คือมีความหนาแน่นและความเหนียวสุง ส่วนเรื่องเสียงของหนังชนิดนี้ เสียงโอเวอร์โทนจะน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย ส่วนการตอบสนองกับไม้อยุ่ในขีดสุงสุด (ภาษาชาวบ้านเรียก โคตรเด้ง) นึกภาพไม่ออกให้ลองนึกถึงsnare วงโยฯ marching band นะคับ ส่วนมากจะเป็นหนังชนิดนี้ ถ้าเปรียบเทียบกับหนังชนิดอื่นในการขึ้นหนังที่รอบเท่ากัน หนังชนิดนี้จะตึงกว่าแบบเห็นได้ชัด ถ้าเพื่อนๆอยากลองเอามาใส่สแนร์กลองชุดก็ต้องระวังหน่อยนะคับ เพราะถ้าLugsไม่แข็งจริง อาจเกิดเหตุการณ์เศร้าได้นะคับ เพราะมันจะดึงLugs แตกได้นะคับ เหมาะกับสแนร์วงโยฯมากกว่า

เป็นยังไงบ้างครับในเรื่องของข้อมุลประเภทหนังแบบต่างๆ หวังว่าเพื่อนๆคงได้รับความรุ้และนำไปเลือกใช้หนังกลองได้โดนใจ เพื่อนๆกันนะคับ หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคับ

แนวเพลงในประเทศไทย


POP

           1) POP หรือดนตรีพ๊อพ Popย่อมาจากคำว่า Popular ที่มีความหมายว่า เป็นที่นิยมชมชอบกันทั่วไป ดนตรีพ๊อพจึงมีลักษณะที่ฟังง่าย ติดหู ทำนองไพเราะ ดนตรีไม่มีความสลับซับซ้อน เนื้อหากล่าวถึงความรัก ธรรมชาติ อารมณ์ต่างๆของผู้คนทั่วไปโดยรวมแล้วทุกๆเพลงจะมีลักษณะที่เด่นชัด ดังนั้นดนตรีพ๊อพจึงอาจจะเป็นดนตรี โพลค์ บูลส์ คันทรี่ ร็อค เฮฟวี่ แรป แด๊นซ์ ฯลฯ หรือดนตรีอะไรก็ตามที่ผู้คนทั่วโลกชื่นชอบและฮิตเป็นบ้าเป็นหลัง



        ROCK

           2) ROCK เป็นดนตรีที่มีจังหวะจะโคนเร่งเร้ากระชับหนักแน่นโยกย้ายส่ายสะโพกไปมาตาม จังหวะด้อย่างเมามัน โดยมีที่มาจากดนตรีร็อคแอนด์โรลยุค 50's ตอนปลาย และยุค 60's ที่เรียกกันว่า 'Rock A Billy' หรือจากเพลง 'Rock Around The Clock' มีกลองให้จังหวะพร้อมกับริธึ่มของกีตาร์ที่หนักแน่น และเสียงร้องกระแทกกระทั้น เพื่อปลุกเร้าคนฟังให้เกิดอารมณ์สนุก เมามันส์ และปลดปล่อย ดนตรีร็อคได้พัฒนาให้มีจังหวะที่หนักแน่นและมีรายละเอียดในแง่ของลูกเล่น กีตาร์มากขึ้นและเร็วขึ้นเลยเรียกว่า ฮาร์ด ร็อค(Hard Rock)และพัฒนาให้มีความสลับซับซ้อนในโครงสร้างของเพลง และเนื้อหาที่เป็นเรื่องราวที่เรียกว่า โปรแกรสซีฟ ร็อค (Progressive Rock) โดยมีเครื่องดนตรีอย่างคีย์บอร์ดและออร็แกนเข้ามามีบทบาท และพัฒนามาจนถึงมีความหนักแน่นกร้าวร้าว หยาบคาย ทั้งในเนื้อหาและดนตรีที่เน้นหนักไปที่กี่ตาร์ริธึ่มและโซโล่เป็นพระเอกที่ เรียกว่า เฮฟวี่เมทอล (Heavy Metal) เช่นวง Mattallica , Nirvana เป็นต้น



       JAZZ

           3) JAZZ เป็นดนตรีที่มีต้นกำเนิดมาจากทาสผิวดำที่ถูกนำมาเป็นทาสในอเมริกาแถบนิ   วออร์ลีน รัฐนี้จึงกลาเป็นรัฐของดนตรีแจ๊ซ โดยเริ่มแรกจากการที่ทาสผิวดำแหล่านี้มีรากฐานของดนตรีโซลและบูลส์อยู่บ้าง แล้ว เพราะคนผิวดำที่ถูกต้อนมาจากทวีปอาฟริกานั้น เป็นชนเผ่าต่างๆที่มีวัฒนธรรมและประเพณีของตนเองติดตัวมาอยู่แล้ว เมื่อมีโอกาสได้พบประระหว่างทาสด้วยกัน ก็หันมาร้องรำทำเพลงบ้าง เข้าโบสถ์ชุมนุมกันบ้าง และจับเครื่องตนตรีต่างๆมาเล่นร่วมกัน ทั้งเครื่องเป่า เปียโนหรือตีตาร์ เมื่อหลุดพ้นจากการเป็นทาส หรือว่างงาน ก็จะมารวมตัวกันเล่นดนตรีตามงานศพต่างๆของคนผิวดำด้วยกัน เพื่อเป็นการระบายความต่ำต้อยของพวกเขาเอง ดนตรีแจ๊ซในนิวออร์ลีนก็ได้แพร่หลายจากงานต่างเหล่านี้ ซึ่งลักษณะเดนของดนตรีแจ๊ซค่อนข้างจะ ซับซ้อน ไพเราะ ปราณีต บรรจง และค่อนข้างจะอิงไปทางดน่ตรีคลาสสิคในยุคก่อนๆ เครื่องดนตรีที่เด่นๆของแจ๊ซคือ เครื่องเป่า กีตาร์ เปียโน บิดาของดนตรีแจ๊ซคือ หลุยส์ อาร์มสตรอง


       
         SOUL & FUNK

            4) SOUL & FUNK ดนตรีโซล เป็นรากฐานของดนตรีหลายๆแนวในปัจจุบันที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ เพราะโซลเป็นดนตรีที่มีความหมายของคำว่า วิญญาณซึ่งเป็นดนตรีที่เน้นไปทางเสียงร้อง และเอื้อนอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของคนผิวดำ ที่ไม่มีชนชาติใดเลียนแบบได้ และเนื้อหาก็จะตีแผ่ถึงความลำบากในการใช้ชีวิตที่ตกเป็นทาส เสียงร้องจึงคล้ายกับการคร่ำครวญอย่างเจ็บปวด ดนตรีจะไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ไม่ว่าจะเป็นกีตาร์ เปียโน หรือเครื่องเป่า ลักษณะที่สังเกตได้ง่ายจากดนตรีโซลรคือ ตนตรีคนดำใช้ร้องในโบสถ์ประสานเสียงร้องกันที่เรียกว่า Acapella เช่นดนตรีของ Marvin Gaye หรือ Diana Ross เป็นต้น ต่อมาก็เริ่มมีการพัฒนาโดยการนำเอาดนตรีโซลไปผสมผสานกับเครื่องดนตรีชิ้น อื่นๆขึ้น นอกเหนือจากเสียงร้องแล้ว อาจจะเน้นไปที่กีตาร์ กลอง โดยเฉพาะเสียงเบส ให้จังหวะจะโคนที่เด่นชัด และลื่นไหล สร้างอารมณ์ให้เต้นตามได้ ซึ่งต่อมาเรียกว่าดนตรี ฟังก์ (Funk) หรือ โซล-ฟังก์นั่นเอง ซึ่งก็มีศิลปินอย่าง James Brown , Stevie Wonder , Celine Dion , Mariah Carey เป็นต้น


       
         BLUES
             5) BLUES เป็นดนตรีของคนผิวดำเช่นกับที่นำเสนอเรื่องราวของชีวิตที่ต้อยต่ำ ผ่านเสีงดนตรีคือ กีตาร์ที่เศร้าสร้อย หดหู่ จนน่าขนลุก บวกกับเสียงร้องที่แหบพร่าเหมือนการรคร่ำครวญคล้ายคนกำลังร้องไห้ โดยให้เสียงกีตาร์กับเสียงเครื่องเป่าฮาร์โมนิก้าเป็นสื่อถ่ายทอด ความเจ็บปวดเหล่านั้นอีกที เพื่อเป็นการตอกย้ำซึ่งถ้าในบ้านเราก้จะเรียกเพลงเหล่านี้ว่าเป็นเพลงเพื่อ ชีวิต มีศิลปินอย่าง Muddy Waters , Memphis Slim และ Sonny Boy Williamson เป็นผู้ให้กำเนิดตำนานบทนี้ และส่งผลเด่นชัดที่สุดต่อแนวเพลงริธึ่ม แอนด์ บูลส์ ในปัจจุบัน


         RAP

            6) RAP รากฐานที่แท้จริงของดนตรีจากคนผิวดำอีกแนว ที่ประทับตราได้เด่นชัดที่สุดกว่าแนวอื่นใดทั้งหมดที่เป็นของพวกเขา เพราะเป็นดนตรีที่มาจากการพร่ำป่น การเปล่งเสียงที่มาจากภายในของตัวคน ระบายออกมาเป็นท่วงทำนอง เป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน พรรณนา และปาฐกถา โดยไม่จำเป็นต้องมีเสียงดนตรี ซึ่งแม้แต่จังหวะก้สามารถใช้เสียงในลำคอคอยให้จังหวะได้ เนื้อหาก้ยังวนเวียนอยู่กั้บการถูกเอารัดเอาเปรียบเหมือนเดิม เป็นดนตรีที่พูดถึงความจริงได้ชัดเจนที่สุด เพราะเนื้อหาค่อนข้างเปิดเผย โผงผาง หยาบคายและด่าทอได้ถึงกึ๋น ต่อมาได้พัฒนามาเป็นดนตรี ฮิป-ฮอป (Hip-Hop) ซึ่งมีเครื่องเล่นแผ่นเสียงหรือ Turntable เป็นเครื่องดนตรีที่คอยให้จังหวะ

        REGGE & LATIN MUSIC


             7) REGGE & LATIN MUSIC เป็นดนตรีพื้นเมืองของจาไมก้าที่มีเนื้อหาพูดถึงการเมือง และลัทธิรัสตาฟาเรียน โดยมีบ๊อบ มาเลย์เป็นสัญญลักษณ์ ซึ่งดนตรีเน้นที่กีตาร์เป็นจังหวะเด่นชัด และเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ จังหวะของดนตรีเร็กเก้จะให้ความสนุกสนานด้วยตัวของมันเองอย่างชัดเจน แม้เนื้อหาจะหนักแต่ดนตรีเรกเก้ก็ได้รับความนิยม อย่างแพร่หลายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยมีปรมาจารย์อย่าง King Tubby และ Augatus Pablo เป็นผู้ให้กำเนิด ส่วนดนตรีลาติน มิวสิคนั้น เป็นดนตรีประจำภาคพื้นทวีปอเมริกาใต้ ที่เน้นจังหวะที่มีเครื่องเคาะหลากหลาย เป็นแกนหลักของดนตรี ทำนอง และจังหวะจะผสมผสานระหว่างการเต้นระบำของคนพื้นเมือง ใส่ความสมัยใหม่ของเครื่องดนตรีอย่างกีตาร์ กลอง เบส และที่เป็นพระเอกอีกชิ้นก้คือ กีตาร์สไตล์ สแปนิช หรือสไตล์ลาติน ที่มีทำนองและเสียงไม่เหมือนกีตาร์ของชนชาติใด ศิลปินที่รู้จักกันดีคือ Ricky Martin ที่นำเอาดนตรีลาตินมาใส่กับดนตรีแด๊นซ์ของฝั่งอเมริกา


        
        WORLD MUSIC
             8) WORLD MUSIC เป็นดนตรีที่นำเอาเอกลักษณ์ ของดนตรีพื้นเมืองของชาติต่างๆ มาเรียบเรียงใหม่ บนดนตรีสังเคราะห์ ซึ่งมีหลากหลายสไตล์ทั้งเต้นรำ และฟังแบบสบายๆ เนื้อหาของเพลงจะฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะจะเน้นความเป็นพื้นเมืองของดนตรีนั้นๆ รายละเอียดดนตรีก้เช่นกัน จะมีความสลับซับซ้อน หลากหลาย ที่นำมาผสมผสานกันจนยุ่งเหยิงแต่กลับกลายเป็นเนื้อเดียวกันที่ลงตัว วงดังๆในแนวนี้ก็มีอย่าง เช่น Enigma , Deep Forest เป้นต้น และที่กำลังมาแรงอีกเช่นกันคือ แนว Buddha Bar

การตั้งเสียงกลอง


      วิธีจูนเสียงกลองนั้นเหมือนกันในทุกๆใบ ไม่ว่าจะเป็นทอม สแนร์ หรือBass drumแต่สแนร์นั้นอาจ
มีวิธีจูนที่เป็นเอกภาพต่างหากจะพูดต่อไปในอนาคตต่างหากครับ หนังด้านบนมีไว้ถูกตีให้เกิดเสียงด้วย
การสั่นขณะที่หนังด้านล่างช่วยให้เกิดการResonant เกิดเสียงOvertone ดังนั้นหนังด้านล่างจึงมีความ
สำคัญไม่น้อยกว่าด้านบนเช่นกัน ในขณะที่จูนเสียงคุณต้องใช้กุญแจปรับความตึงของหนัง
หนังยิ่งตึงยิ่งให้เสียงที่สูงขึ้น การขันน๊อตไม่ควรขันเรียงลำดับกันไป และไม่ควรขันให้แน่นในทีเดียว
ควรเริ่มจากตำแหน่งที่หนึ่ง แต่ไม่ใช้ขันไล่ไปทวนเข็มหรือตามเข็มนาฬิกาแต่ตัวต่อไปต้องไขในตำแหน่งตรงกันข้ามกับตัวแรกด้วยแรงบิดที่เท่ากัน

       แล้วทำด้วยวิธีเดียวกันไปเรื่อยๆกับน๊อตที่เหลืออยู่ จนกลับมาที่น๊อตตัวแรกค่อยขันให้แน่นขึ้น 
แล้วขันไปในแรงบิดที่เท่ากันจนครบทุกตัวจากนั้นค่อยๆปรับหนังให้ตึงเท่าๆกัน ไม่มีตรงไหนหย่น 
ลองตีแล้วแล้วให้เสียงที่ต่ำๆเท่ากัน จากนั้นค่อยๆขันน๊อตขึ้นประมาณ1/4 รอบจนได้เสียงที่ถูกใจ 
ในส่วนหนังด้านล่างใช้วิธีการจูนเช่นเดียวกัน แต่จะต้องสัมพันธ์กับหนังด้านบนซึ่งอาจจูนให้ได้
ระดับเสียงที่ เท่ากับ สูงกว่า หรือต่ำกว่าหนังด้านบนก็ได้ คุณต้องลองตั้งดูแล้วเลือกเสียงที่ชอบครับ
เมื่อจูนเสียงได้แล้ว ก็จูนใบอื่นๆอีกให้เข้ากัน โดยทั่วไปกลองใบเล็กจะให้เสียงที่สูงกว่าใบใหญ่
คุณต้องตั้งเสียงกลองให้มีระดับเสียงที่ต่างกัน ซึ่งทอมแต่ละใบควรตั้งให้เสียงต่างกันเป็นคู่สามหรือ
คู่สี่ (คือเสียง โดกับมี หรือโดกับฟา)ซึ่งคุณควรทราบว่าการตั้งเสียงกลองไม่มีถูกหรือผิดมือกลอง
แต่ละคนมีวิธีต่างกัน การตั้งเสียงกลองที่สูงไป เสียงกลองจะไม่เป็นธรรมชาติเสียงไม่ออก 
ตรงกันข้ามถ้าตั้งต่ำเกินไปเสียงจะหายไป ได้เสียงหย่อนๆยานๆ
คุณจำเป็นต้องจูนให้ได้ในตำแหน่งที่ไพเราะของกลองชุดนั้นด้วยหูของคุณเอง

สอนตีกลอง_เพียงกระซิบ - Blackhead


  นี่คือเทคนิคการตีของแบบง่ายๆของเด็กหญิงสาวสวยที่มีความสามารถในการตีกลอง  มีขั้นตอนในการฝึกหัดใช้ความรู้พื้นฐานในการฝึกแล้วนำมาเล่นเป็นบทเพลงและใช้ความรู้ความสามารถที่เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการตีกลองการตีกลองเป็นการผ่อนคลายอารมณ์รมได้  หรือเป็นการที่เราจะนำไปสอนไปประกอบอาชีพได้อย่างง่ายๆ 

สำหรับการเริ่มต้น


โดยทั่วไปกลองชุดประกอบด้วยกลองใหญ่ 1 ใบ กลองเล็ก 1 ใบ กลองทอมใหญ่หรือฟลอร์ทอม 1 ใบ กลองทอม ทอม 2 ใบ ฉาบใหญ่ 1 ใบ ฉาบเล็ก 1 ใบ และไฮแฮท 1 คู่ ก่อนการบรรเลงต้องจัดกลองชุดให้ถูกต้องเสียก่อน เริ่มต้นจากกลองใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าผู้บรรเลง กลองเล็กตั้งอยู่ริมขอบกลองใหญ่ด้านซ้ายมือ กลองทอมใหญ่ หรือฟลอร์ทอมตั้งอยู่ริมขอบกลองใหญ่ด้านขวามือ กลองทอม ทอม สองใบตั้งอยู่บนกลองใหญ่ ทอมใบเล็กติดตั้งด้านซ้ายมือ ทอมใบที่ใหญ่กว่า ติดตั้งด้านขวามือ ส่วนฉาบใหญ่ตั้งอยู่ระหว่างกลองใหญ่กับทอมใหญ่ด้านขวามือ ฉาบเล็กตั้งอยู่ระหว่างกลองใหญ่กับกลองเล็กด้านซ้ายมือ และไฮแฮท อยู่ติดกับกลองเล็กด้านซ้ายมือ หลังจากจัดกลองชุดเรียบร้อยแล้ว ควรตรวจสภาพกลองทุกใบให้อยู่ในสภาพการที่ใช้การได้ดีโดยเฉพาะการปรับเสียงกลองใหญ่ ตรวจสอบแผ่นพลาสติกโดยการวางเท้าลงบนกระเดื่องแล้วกดปลายเท้าลง หูฟังเสียงกลองใหญ่ ลักษณะเสียงที่บ่งบอกว่าไม่ตึงเกินไปไม่หย่อนเกินไป จะมีเสียงทึบก้องกังวานพอประมาณ ถ้าเสียงทึบความก้องกังวานสั้นแสดงว่าตึงเกินไป แต่ถ้าเสียงไม่ทึบและมีความก้องกังวานมากแสดงว่าหย่อนเกิดไป ฉะนั้นควรปรับเสียงกลองใหญ่ให้พอดีไม่ตึงเกินไปหรือหย่อนมาก การปรับเสียงกลองเล็กต้องปลดเส้นลวดออกจากแผ่นพลาสติกก่อน นำไม้ตีกลองเล็กเคาะลงบนแผ่นพลาสติก เพื่อฟังเสียงกลองเล็ก วิธีการปรับเสียงกลองเล็กโดยการใช้ที่หมุนมีลักษณะกลมเป็นโพรงมีที่จับสำหรับหมุนกลองเล็กบางชนิดใช้ไขด้วยสกรู การปรับเสียงต้องนำวิธีการปรับเสียงกลองใหญ่มาใช้ คือ ปรับจุดที่หนึ่งใกล้ตัว แล้วย้ายไปปรับจุดที่สองซึ่งอยู่ตรงกันข้ามและจุดที่สามปรับด้านบนแล้วย้ายไปปรับจุดที่ 4 อยู่ตรงกันข้ามคือด้านล่าง เหมือนกับเข็มทิศปรับทิศเหนือแล้วย้ายลงใต้ ปรับทิศตะวันออกแล้วย้ายไปปรับทิศตะวันตก ดังนี้เรื่อยไปทุกจุด อย่าปรับทุกจุดตามลำดับเรียงกันเป็นวงรอบ เพราะจะทำให้ด้านแต่ละด้านไม่เท่ากัน เมื่อปรับจุดใดจุดหนึ่งและด้านตรงกันข้ามเรียบร้อยแล้ว ใช้ไม้ตีกลองเล็กเคาะลงบนแผ่นพลาสติกเพื่อฟังเสียง ถ้าเสียงสูงแสดงว่าตึง ถ้าเสียงต่ำแสดงว่าหย่อน ต้องปรับทั้งสองด้านใหม่ให้ระดับเสียงเท่ากันส่วนการปรับเสียงทอม และทอมใหญ่ ให้ใช้วิธีการปรับเสียงเหมือนกับกลองเล็ก ระดับเสียงกลองทอมทั้งสามใบมีระดับเสียงไม่เท่ากัน ควรตั้งระดับเสียงกลองทอม ด้านซ้ายมือให้เสียงสูง ทอมด้านขวามือเสียงกลาง และทอมใหญ่เสียงต่ำ ระดับเสียงกลองทอมสามใบ จะมีระดับเสียงต่อเนื่องกัน คือ สูง กลาง และต่ำ

การปรับเสียงกลองอีกลักษณะหนึ่งที่นิยมโดยทั่วไป คือ การป้องกันเสียงก้องกังวานของหางเสียงกลองขณะบรรเลงจังหวะเร็วๆ ทำให้เสียงถี่กระชั้นของหางเสียงกลองที่ไม่ต้องการปะปนกันกับเสียงกลอง ทำให้ได้ยินเสียงกลองที่ต้องการไม่ถนัดชัดเจน ควรนำวัสดุที่มีน้ำหนักเบา เล่น สำลี นุ่น หรือเศษผ้าวางลงบนแผ่นพลาสติก แล้วใช้ผ้าขนาดหนึ่งฝ่ามือ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใหญ่กว่าเล็กน้อยปิดทับบนวัสดุ นำกาวเทปหรือกระดาษกาว หรือวัสดุพันสายไฟปิดทับทั้งสี่ด้าน เสียงของหางกลองจะลดน้อยลงมาก สามารถบรรเลงจังหวะเร็วๆ ตามถนัดได้ตามความต้องการ โดยจะได้ยินเสียงกลองเป็นจังหวะๆ ตามตัวโน้ตอย่างชัดเจน บางครั้งผู้บรรเลงจะไม่นิยมปิดเศษผ้ากับแผ่นพลาสติก จะใช้วิธีถอดแผ่นพลาสติกออกแล้วนำเศษผ้าใส่ในกลองแล้วปิดแผ่นพลาสติก สามารถกระทำได้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ป้องกันหางเสียงกลอง

การบรรเลงกลองชุด มีขั้นตอนดังนี้

1. การนั่ง ผู้บรรเลงกลองชุดต้องนั่งบรรเลง เพื่อใช้เท้าทั้งสองข้างให้เป็นประโยชน์ ก่อนนั่งควรเลือกเก้าอี้สำหรับนั่งตีกลอง เมื่อนั่งแล้วรู้สึกสบายไม่เจ็บก้นเพราะเก้าอี้นั่งมีหลายชนิด บางชนิดสามารถปรับเลื่อนให้สูงขึ้น หรือต่ำลงได้ตามต้องการ การนั่งควรนั่งตามสบาย เท้าและหัวเข่าทั้งสองแยกออกจากกัน เพื่อให้กลองเล็กอยู่ระหว่างหัวเข่าทั้งสอง เท้าข้างขวาวางลงบนกระเดื่องกลองใหญ่ เท้าข้างซ้ายวางลงบนกระเดื่องไฮ-แฮท หลังต้องไม่งอโค้ง ควรตั้งให้ตรงอยู่เสมอ เพื่อให้อาการปวดหลังมีน้อยมาก หายใจสะดวกปลอดโปร่ง (ส่วนมากเมื่อบรรเลงไประยะหนึ่งหลังจะงอโค้งเป็นส่วนใหญ่) คอตั้งตรง ใบหน้าตั้งตรงไม่ก้มต่ำ สายตามองดูบทเพลงและเพื่อนร่วมบรรเลง เพราะผู้บรรเลงกลองชุดจะเป็นผู้ให้สัญญาณจังหวะ กรณีที่ไม่มีผู้อำนวยเพลง

2. การจับ การจับไม้ตีกลองชุด มีวิธีการเดียวกันกับการจับไม้ตีกลองเล็กทุกประการ ก่อนบรรเลงควรเลือกไม้ตีกลองชุดที่แข็งแรงไม่หักง่ายสองชุด ชุดที่หนึ่งต้องมีน้ำหนักเบาเพื่อบรรเลงจังหวะช้าจนถึงปานกลาง เพราะทำให้บรรเลงได้สะดวกคล่องแคล่ว โดยเฉพาะการรัว กลองเล็กหรือกลองทอม และการเดี่ยวกลอง ชุดที่สองต้องมีน้ำหนัก เพื่อบรรเลงเพลงประเภทเฮฟวี่ (Heavy) ฮาร์ด ร็อค(Hardrock) และดิสโก้(Disco) ฯลฯ

เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งสำหรับใช้บรรเลง กลองชุด ทำด้วยโลหะ ความยาว 14-15 นิ้วแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งทำด้วยโลหะ หรือพลาสติก หรือยาง หรือโลหะหุ้มพลาสติก หรือหุ้มยาง ส่วนที่สองทำด้วยโลหะเส้นเล็กๆ เหมือนเส้นลวดหลายเส้น ตอนปลายส่วนที่หนึ่งมีปุ่มสำหรับดึงเส้นลวดเก็บเข้าเครื่องมือชนิดนี้เรียกว่าแส้ หรือแปรงลวด (wire Brushes) วิธีจับแส้ให้จับอย่างเดียวกันกับการจับไม้ตีกลองเล็ก

3. การบรรเลง ก่อนการบรรเลงต้องตรวจสอบระยะกลองชุดและฉาบ ให้อยู่ในระยะพอเหมาะกับมือและเท้า เริ่มจากเท้าขวาโดยวางเท้าข้างขวาลงบนกระเดื่องให้หัวเข่าทำมุมฉากพอดี อย่าให้เกินมุมฉาก เพราะจะทำให้เมื่อยเร็วแล้วยังทำให้กลองใหญ่ถอยห่างออกไปได้ เท้าข้างซ้ายก็เช่นกัน วางเท้าลงบนกระเดื่องไฮ แฮท ให้หัวเข่าทำมุมฉาก ส่วนกลองเล็กตั้งอยู่ระหว่างหัวเข่าทั้งสอง มือขวาระยะให้พอดีกับฉาก อย่าตั้งฉากให้ไกลสุดมือ เพราะจะทำให้เมื่อยแขนโดยไม่จำเป็น ควรดึงฉาบเข้าหาตัวให้ระยะห่างประมาณช่วงแขนงอได้เพื่อสะดวกต่อการบรรเลง ข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่งคือ อย่าให้เบียดชิดติดกันมากนักเพราะจะทำให้การบรรเลงอาจจะผิดพลาดขึ้นได้ โดยไม้ตีกลองอาจจะกระทบกับฉาบหรือกลองทอม ฉะนั้นควรกะระยะให้พอดี ทดลองตีทุกๆเครื่องมือเสียก่อน แล้วจึงลงมือบรรเลง

วิธีการเหยียบกระเดื่องกลองใหญ่ ให้วางเท้าลงบนกระเดื่อง กดปลายเท้าลงบนกระเดื่องแล้วรีบ ยกปลายเท้าขึ้นโดยให้สันเท้าติดอยู่กับที่ กระเดื่องจะเด้งติดตามปลายเท้ามาโดยอัตโนมัติ วิธีนี้ใช้สำหรับการบรรเลงจังหวะธรรมดา ตั้งแต่จังหวะช้าๆ จนถึงจังหวะค่อนข้างเร็ว ส่วนจังหวะเร็วและต้องการเสียงกลองหนักแน่นให้ยกขาขึ้นแล้วใช้ปลายเท้ากดลงบนกระเดื่องโดยให้น้ำหนักอยู่ที่ปลายเท้า แล้วรีบยกขาขึ้นอย่างเร็ว ต้องการความเร็วขนาดไหน ก็ให้ชักเท้าขึ้นและกดปลายเท้าลงตามที่ต้องการ วิธีนี้ยังใช้สำหรับการรัวกลองใหญ่ได้อีกด้วย

วิธีการเหยียบกระเดื่องไฮ แฮท โดยวางเท้าลงบนกระเดื่องให้น้ำหนักอยู่ที่ปลายเท้า กดปลายเท้าลง ยังไม่ต้องรีบยกขึ้นเมื่อต้องการเสียงสั้น ถ้าต้องการเสียงยาวให้รีบยกปลายเท้าขึ้นทันที กรณีที่บทเพลงต้องการให้บรรเลงเสียงสั้นและยาวตามจังหวะเพลงให้ใช้ไม้กลองเล็กตีลงบนไฮ แฮทตามจังหวะ เท้าเหยียบลงบนกระเดื่องแล้วรีบยกขึ้นจะได้เสียงทั้งสั้นและยาวสลับกันไป

การเดี่ยวกลอง หรือโซโล่กลอง ให้ยึดจังหวะกลองใหญ่เป็นจังหวะหลัก จังหวะไฮ-แฮทเป็นจังหวะรอง โดยใช้มือขวานำตามด้วยมือซ้าย เริ่มจากกลองเล็ก ทอม ทอม และฟลอร์ทอม วนเวียนตามลำดับ หรืออาจสลับกลับกันจากฟลอร์ทอมเป็นทอม ทอมและกลองเล็กลักษณะนี้ต้องมือซ้ายนำ เพื่อป้องกันมือทั้งสองข้างกระทบกัน

ลองฝึกกันดูครับ ^^

ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น


หลายคนถามว่า โน้ต คือ อะไร?” เป็นตลกในวงการเมืองไทยหรือเปล่า - -‘’ อันนั้นไม่ใช่นะครับ เหอๆ

โน้ต ก็คือ สัญลักษณ์ที่ใช้บันทึกแทนเสียงดนตรี ซึ่งแสดงถึงความสั้น-ยาว และความสูง-ต่ำของเสียงดนตรี ตัวโน้ตเปรียบเหมือนกับตัวอักษรที่ใช้บักทึกแทนภาษาพูด คนที่เล่นดนตรีเป็นแต่ไม่สามารถอ่านโน้ตได้ก็เหมือนกับคนที่พูด ได้แต่อ่านหนังสือไม่ออก ผมไม่ได้หมายความว่าคนที่อ่านโน้ตไม่เป็นจะเล่นดนตรีไม่ดีนะครั บ ยังมีนักดนตรีเก่งๆอีกหลายท่าน ที่อ่านโน้ตไม่เป็นแต่ก็เล่นดนตรีได้อย่างเยี่ยมยอดมาก ก็เหมือนกับ คนที่อ่านชื่อป้ายห้องน้ำไม่ออก ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะใช้ห้องน้ำไม่เป็นนี่ครับ

สำหรับเสียงเครื่องดนตรีที่เราดีด,สี,ตี,เป่า ออกมาเป็นเพลงได้นั้น จะประกอบไปด้วย

1. ความสั้น-ยาว ของเสียง หรือที่เราเรียกว่า จังหวะ (Time)

2. ความสูง-ต่ำ ของเสียง หรือที่เราเรียกว่า ระดับเสียง (Pitch)

ถ้าเพื่อนๆมีความเข้าใจใน 2 ข้อ นี้ก็สามารถอ่านโน้ตได้เร็วขึ้น เพราะโน้ตจะบันทึกรวมทั้ง 2 ข้อนี้ไว้ด้วยกัน แต่ผมจะขอพูดถึงแต่ในส่วนแรกคือ ส่วนของจังหวะ(Time) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 10 บทย่อยๆ ดังนี้ครับ

1. ความหมายของคำว่าจังหวะ(Time)

2. ตัวโน้ต และตัวหยุด (Note & Rest)

3. โน้ตโยงเสียง (Tied Note)

4. โน้ตประจุด (Dotted Note)

5. โน้ต 3 พยางค์ (Triplets)

6. ห้องเพลง (Measure)

7. เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature)

8. เครื่องหมายกำหนดจังหวะอื่นๆ

9. การจัดกลุ่มตัวโน้ต และตัวหยุด

10. หลักการปฏิบัติจังหวะตามตัวโน้ต

ซึ่งผมจะทยอยนำมาลงเรื่อยๆนะครับ และหากตกหล่นหรือผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ


บทที่ 1 ความหมายของคำว่าจังหวะ (Time)

จังหวะ หมายถึง ช่วงเวลาที่ดำเนินอยู่ในขณะที่บรรเลงดนตรี จะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อจบบทเพลงนั้นๆ แล้ว จังหวะมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของทำนองเพลงและแนวประสานเส ียงต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์กัน การเดินของจังหวะจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ จะเหมือนกับการเดินของนาฬิกา อ๋อ...ยกเว้นนาฬิกาตายนะครับ

ซึ่งนาฬิกาปกติจะเดินเป็นจังหวะตัวดำเท่ากับ 60 ตัวอย่างเช่น

หากเพื่อนๆตั้งเมโทโนมเป็นจังหวะตัวดำเท่ากับ 120 ก็คือในหนึ่งนาทีจะมีตัวดำทั้งหมด 120 ตัว หรือใน 1 วินาทีของนาฬิกาปกติ จะมีตัวดำทั้งหมด 2 ตัวนั่นเอง

สำหรับจังหวะเราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 .จังหวะเคาะ (Beat) เป็นหน่วยบอกช่วงเวลาของดนตรี ปฏิบัติโดยการเคาะจังหวะให้ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าจะจบบทเพลง





2. จังหวะทำนอง (Rhythm) เป็นช่วงเวลาที่เสียงดังออกมา มีทั้งเสียงสั้นเสียงยาวสลับกันไปด้วยความเงียบ ซึ่งแล้วแต่บทเพลงนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เพลงหนูมาลี ที่เพื่อนๆ น่าจะเคยได้ยินกันดีอยู่แล้ว





ความสั้น-ยาวของเสียง หรือความเงียบในจังหวะทำนอง สามารถบันทึกได้โดยใช้ ตัวโน้ต และตัวหยุด ซึ่งจะอธิบายในบทต่อไปครับ



บทที่ 2 ตัวโน้ต และตัวหยุด (Note & Rest)

ตัวโน้ต (Note) เป็นสัญลักษณ์ที่บักทึกแทน ความสั้น-ยาว ของเสียง

ตัวหยุด (Rest) เป็นสัญลักษณ์ที่บักทึกแทน ความสั้น-ยาวของความเงียบ



ลักษณะของตัวโน้ต และตัวหยุด



สำหรับชื่อเรียกที่ผมหามาได้ก็จะมีทั้งหมด 3 ชื่อนะครับ คือชื่อไทย, ชื่ออังกฤษ, และชื่ออเมริกัน เท่าที่เจอจากประสบการณ์ ชื่ออังกฤษมักจะไม่ค่อยได้พบเห็นเท่าไหร่ ที่เรียกกันทั่วๆไปได้ยินบ่อยๆ ก็จะเป็นชื่อไทยกับชื่ออเมริกาซะมากกว่าครับ ในส่วนต่อไปเราจะมาเปรียบเทียบค่าของตัวโน้ตกันนะครับ



การเปรียบเทียบค่าของตัวโน้ต



จะเห็นได้ว่า โน้ต ตัวขาว มีค่าเท่ากับ ½ ของโน้ต ตัวกลม

โน้ต ตัวดำ มีค่าเท่ากับ ¼ ของโน้ต ตัวกลม

โน้ต ตัวเขบ็ต 1 ชั้น มีค่าเท่ากับ 1/8 ของโน้ต ตัวกลม

โน้ต ตัวเขบ็ต 2 ชั้น มีค่าเท่ากับ 1/16 ของโน้ต ตัวกลม

หรือ 1 ตัวกลม = 2 ตัวขาว = 4 ตัวดำ = 8 ตัวเขบ็ต 1 ชั้น = 16 ตัวเขบ็ต 2 ชั้น

ส่วนตัวหยุด ให้เปรียบเทียบค่าเหมือนตัวโน้ตครับ