วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น


หลายคนถามว่า โน้ต คือ อะไร?” เป็นตลกในวงการเมืองไทยหรือเปล่า - -‘’ อันนั้นไม่ใช่นะครับ เหอๆ

โน้ต ก็คือ สัญลักษณ์ที่ใช้บันทึกแทนเสียงดนตรี ซึ่งแสดงถึงความสั้น-ยาว และความสูง-ต่ำของเสียงดนตรี ตัวโน้ตเปรียบเหมือนกับตัวอักษรที่ใช้บักทึกแทนภาษาพูด คนที่เล่นดนตรีเป็นแต่ไม่สามารถอ่านโน้ตได้ก็เหมือนกับคนที่พูด ได้แต่อ่านหนังสือไม่ออก ผมไม่ได้หมายความว่าคนที่อ่านโน้ตไม่เป็นจะเล่นดนตรีไม่ดีนะครั บ ยังมีนักดนตรีเก่งๆอีกหลายท่าน ที่อ่านโน้ตไม่เป็นแต่ก็เล่นดนตรีได้อย่างเยี่ยมยอดมาก ก็เหมือนกับ คนที่อ่านชื่อป้ายห้องน้ำไม่ออก ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะใช้ห้องน้ำไม่เป็นนี่ครับ

สำหรับเสียงเครื่องดนตรีที่เราดีด,สี,ตี,เป่า ออกมาเป็นเพลงได้นั้น จะประกอบไปด้วย

1. ความสั้น-ยาว ของเสียง หรือที่เราเรียกว่า จังหวะ (Time)

2. ความสูง-ต่ำ ของเสียง หรือที่เราเรียกว่า ระดับเสียง (Pitch)

ถ้าเพื่อนๆมีความเข้าใจใน 2 ข้อ นี้ก็สามารถอ่านโน้ตได้เร็วขึ้น เพราะโน้ตจะบันทึกรวมทั้ง 2 ข้อนี้ไว้ด้วยกัน แต่ผมจะขอพูดถึงแต่ในส่วนแรกคือ ส่วนของจังหวะ(Time) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 10 บทย่อยๆ ดังนี้ครับ

1. ความหมายของคำว่าจังหวะ(Time)

2. ตัวโน้ต และตัวหยุด (Note & Rest)

3. โน้ตโยงเสียง (Tied Note)

4. โน้ตประจุด (Dotted Note)

5. โน้ต 3 พยางค์ (Triplets)

6. ห้องเพลง (Measure)

7. เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature)

8. เครื่องหมายกำหนดจังหวะอื่นๆ

9. การจัดกลุ่มตัวโน้ต และตัวหยุด

10. หลักการปฏิบัติจังหวะตามตัวโน้ต

ซึ่งผมจะทยอยนำมาลงเรื่อยๆนะครับ และหากตกหล่นหรือผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ


บทที่ 1 ความหมายของคำว่าจังหวะ (Time)

จังหวะ หมายถึง ช่วงเวลาที่ดำเนินอยู่ในขณะที่บรรเลงดนตรี จะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อจบบทเพลงนั้นๆ แล้ว จังหวะมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของทำนองเพลงและแนวประสานเส ียงต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์กัน การเดินของจังหวะจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ จะเหมือนกับการเดินของนาฬิกา อ๋อ...ยกเว้นนาฬิกาตายนะครับ

ซึ่งนาฬิกาปกติจะเดินเป็นจังหวะตัวดำเท่ากับ 60 ตัวอย่างเช่น

หากเพื่อนๆตั้งเมโทโนมเป็นจังหวะตัวดำเท่ากับ 120 ก็คือในหนึ่งนาทีจะมีตัวดำทั้งหมด 120 ตัว หรือใน 1 วินาทีของนาฬิกาปกติ จะมีตัวดำทั้งหมด 2 ตัวนั่นเอง

สำหรับจังหวะเราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 .จังหวะเคาะ (Beat) เป็นหน่วยบอกช่วงเวลาของดนตรี ปฏิบัติโดยการเคาะจังหวะให้ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าจะจบบทเพลง





2. จังหวะทำนอง (Rhythm) เป็นช่วงเวลาที่เสียงดังออกมา มีทั้งเสียงสั้นเสียงยาวสลับกันไปด้วยความเงียบ ซึ่งแล้วแต่บทเพลงนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เพลงหนูมาลี ที่เพื่อนๆ น่าจะเคยได้ยินกันดีอยู่แล้ว





ความสั้น-ยาวของเสียง หรือความเงียบในจังหวะทำนอง สามารถบันทึกได้โดยใช้ ตัวโน้ต และตัวหยุด ซึ่งจะอธิบายในบทต่อไปครับ



บทที่ 2 ตัวโน้ต และตัวหยุด (Note & Rest)

ตัวโน้ต (Note) เป็นสัญลักษณ์ที่บักทึกแทน ความสั้น-ยาว ของเสียง

ตัวหยุด (Rest) เป็นสัญลักษณ์ที่บักทึกแทน ความสั้น-ยาวของความเงียบ



ลักษณะของตัวโน้ต และตัวหยุด



สำหรับชื่อเรียกที่ผมหามาได้ก็จะมีทั้งหมด 3 ชื่อนะครับ คือชื่อไทย, ชื่ออังกฤษ, และชื่ออเมริกัน เท่าที่เจอจากประสบการณ์ ชื่ออังกฤษมักจะไม่ค่อยได้พบเห็นเท่าไหร่ ที่เรียกกันทั่วๆไปได้ยินบ่อยๆ ก็จะเป็นชื่อไทยกับชื่ออเมริกาซะมากกว่าครับ ในส่วนต่อไปเราจะมาเปรียบเทียบค่าของตัวโน้ตกันนะครับ



การเปรียบเทียบค่าของตัวโน้ต



จะเห็นได้ว่า โน้ต ตัวขาว มีค่าเท่ากับ ½ ของโน้ต ตัวกลม

โน้ต ตัวดำ มีค่าเท่ากับ ¼ ของโน้ต ตัวกลม

โน้ต ตัวเขบ็ต 1 ชั้น มีค่าเท่ากับ 1/8 ของโน้ต ตัวกลม

โน้ต ตัวเขบ็ต 2 ชั้น มีค่าเท่ากับ 1/16 ของโน้ต ตัวกลม

หรือ 1 ตัวกลม = 2 ตัวขาว = 4 ตัวดำ = 8 ตัวเขบ็ต 1 ชั้น = 16 ตัวเขบ็ต 2 ชั้น

ส่วนตัวหยุด ให้เปรียบเทียบค่าเหมือนตัวโน้ตครับ

2 ความคิดเห็น: